โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 85 – มะเร็งปอด-โควิด 19

การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดสำหรับมะเร็งปอด โดยประมาณ (Approximately) 80% ของการเสียชีวิตจากมะเร็งปอดในสหรัฐอเมริกา เกิดจากการสูบบุหรี่

ในปี ค.ศ. 2018 มีจำนวนผู้เสียชีวิตถึง 113,664 คน นี่เป็นตัวเลขที่น่าตกใจ (Staggering) แม้จะไม่รวมการเสียชีวิตที่ไม่ได้เกี่ยวกับมะเร็งปอด (เช่น หัวใจวาย [Heart attack] โรคหลอดเลือดสมอง [Stroke] และอื่น ๆ) สำหรับมะเร็งปอดแล้ว แม้จะมีความก้าวหน้า (Advancement) ในการดูแล แต่การอยู่รอด (Survival) โดยรวมใน 5 ปี ยังต่ำอยู่ที่ 19%

มะเร็งปอด พบในระยะเริ่มแรกน้อยมาก กล่าวคือ ประมาณ 16% ของการวินิจฉัยใหม่ (Diagnosis) อย่างไรก็ตาม เมื่อพบในระยะแรก การอยู่รอดใน 5 ปีจะเพิ่มขึ้นเป็น 57% ข้อเท็จจริงเหล่านี้เน้นย้ำถึงความสำคัญของคำแนะนำให้มีการตรวจคัดกรองใหม่ เป้าหมายคือเพื่อเพิ่มความเป็นไปได้ (Likelihood) ในการค้นพบมะเร็งปอดในระยะแรก ซึ่งอัตราการรอดชีวิตจะดีกว่า

การตรวจคัดกรองคาดว่า จะลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งปอดได้ประมาณ 20% ตามผลการศึกษาของการคัดกรองมะเร็งปอดแห่งชาติ (National Lung Screening Testing: NLST) ข่าวดีก็คือการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งปอดกำลังลดลง เนื่องจากการลดการสูบบุหรี่, การตรวจพบ (Detection) ในระยะแรก, และความก้าวหน้าในการรักษา เราหวังว่าจะเห็นการลดลงของอัตราการเสียชีวิต (Mortality) ต่อไป

โควิด 19

ปลายปี ค.ศ. 2019 การระบาด (Outbreak) ของโรคปอดอักเสบ (Pneumonia) จากสาเหตุ (Etiology) ที่ไม่ทราบที่มา เกิดขึ้นในมณฑลหูเป่ย (Hupei) ประเทศจีน กรณีแรกที่มีการรายงานเชื่อมโยง (Link) กับตลาดค้าส่ง (Wholesale market) อาหารทะเล (Seafood) หัวหนาน (Huanan) ในเมืองอู่ฮั่น (Wuhan)

อย่างไรก็ตาม แนวคิดที่ว่าโรคนี้มาจากสถาบันไวรัสวิทยาอู่ฮั่น (Wuhan Institute of Virology) กลับได้รับความสนใจ (Traction) อีกครั้งในเดือนพฤษภาคม ในปี ค.ศ. 2021 แต่ไม่ว่าจะมาจากแหล่งใด โลกก็ได้ทราบในไม่ช้าว่าโรคนี้เกิดจากไวรัสที่มีการแพร่กระจายสูง (Highly contagious) ในตระกูลโคโรนาไวรัส (Coronavirus family)

โรคนี้ถูกเรียก (Dub) ว่า "ไวรัสอู่ฮั่น" (Whan virus) แต่ชุมชนวิทยาศาสตร์ (Scientific community) ได้เปลี่ยนชื่อใหม่ (Rename) เป็น COVID-19 [มาจาก Corona Virus Disease of 2019] ซึ่งได้แพร่กระจาย (Spread)ไปทั่วทุกมุม (Corner) โลกอย่างรวดเร็ว

แหล่งข้อมูล –

  1. Ramirez, Lucas, MD. (2022.o Simplify Your Health: A Doctor’s Practical Guide to a Healthier Life. Texas, USA: Black Rose Writing.
  2. สันต์ ใจยอดศิลป์, นพ. (2560). สุขภาพดีด้วยตัวคุณเอง: Good Health by Yourself (eBook). พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.